การเสียชีวิตของจอร์จ ฟลอยด์
การเสียชีวิตของจอร์จ ฟลอยด์

การเสียชีวิตของจอร์จ ฟลอยด์

เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 จอร์จ ฟลอยด์ ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกา เสียชีวิตในย่านพาวเดอร์ฮอร์นทางทิศใต้ของย่านกลางเมืองมินนีแอโพลิสในสหรัฐ ขณะที่ฟลอยด์ถูกใส่กุญแจมือและนอนคว่ำหน้ากับพื้นถนนระหว่างถูกจับกุม เดริก ชอวิน เจ้าหน้าที่ตำรวจมินนีแอโพลิสซึ่งเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายยุโรปใช้เข่ากดคอด้านหลังของฟลอยด์เป็นเวลานาน 8 นาที 46 วินาที โดย 2 นาที 53 วินาทีในระยะเวลาดังกล่าวดำเนินไปหลังจากฟลอยด์ไม่ตอบสนอง[3][4] เจ้าหน้าที่อีกสามคนคือ ทอมัส เค. เลน, ทู ทาว และเจ. อเล็กซานเดอร์ คูเอง มีส่วนร่วมในการจับกุมฟลอยด์[5] โดยคูเองจับหลังของฟลอยด์ในขณะที่เลนจับขาของฟลอยด์ไว้[5] ส่วนทาวยืนดูอยู่ใกล้ ๆ[6] การชันสูตรพลิกศพเบื้องต้นพบว่า ไม่มีข้อบ่งชี้ว่าฟลอยด์เสียชีวิตจากการหายใจไม่ออกเหตุบีบรัดคอหรือการขาดอากาศหายใจเหตุช่องอกถูกกดทับ แต่ผลกระทบที่ผสมกันจากความตึงเครียดระหว่างถูกควบคุมตัว โรคประจำตัวซึ่งได้แก่โรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจและโรคหัวใจเหตุความดันสูง และสารมึนเมาที่อาจมีอยู่ในร่างกายของเขานั้นน่าจะเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต[7][8] แต่การชันสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญอิสระที่ครอบครัวของฟลอยด์มอบอำนาจให้พบว่า การเสียชีวิตของฟลอยด์ "เกิดจากภาวะขาดอากาศหายใจเนื่องมาจากแรงกดทับที่คอและหลังซึ่งนำไปสู่การขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง"[9][10]การจับกุมเกิดขึ้นหลังจากฟลอยด์ถูกกล่าวหาว่าใช้ธนบัตรปลอมในร้านขายอาหารแห่งหนึ่ง[11] ตำรวจกล่าวว่าฟลอยด์ขัดขืนการจับกุม[12][13] แต่องค์การสื่อบางแห่งให้ความเห็นว่า ภาพจากกล้องวงจรปิดของร้านอาหารใกล้เคียงไม่แสดงให้เห็นว่าฟลอยด์มีพฤติการณ์เช่นนั้น[14][15] คำร้องทุกข์ทางอาญาในภายหลังระบุว่า ภาพจากกล้องติดตัวตำรวจแสดงให้เห็นว่า ฟลอยด์กล่าวหลายครั้งว่าเขาหายใจไม่ออกขณะยืนอยู่นอกรถตำรวจโดยไม่ยอมเข้าไปในรถและจงใจล้มลง[16][17][18][19] ผู้ใกล้เหตุการณ์หลายคนบันทึกเหตุการณ์นี้ลงในโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยวิดีโอหนึ่งซึ่งแสดงให้เห็นว่าฟลอยด์กล่าวซ้ำ ๆ ว่า "ขอร้องล่ะ" "ผมหายใจไม่ออก" "แม่" และ "อย่าฆ่าผม" ได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวางในฐานช่องทางสื่อสังคมและในการแพร่ภาพกระจายเสียงของสื่อต่าง ๆ[20] เจ้าหน้าที่ทั้งสี่นายถูกไล่ออกในวันถัดมา[21]สำนักงานสอบสวนกลาง (เอฟบีไอ) กำลังสอบสวนเหตุการณ์นี้ในแง่สิทธิพลเมืองตามคำร้องขอของสำนักงานตำรวจมินนีแอโพลิส และสำนักวิเคราะห์อาชญากรรมมินนิโซตา (บีซีเอ) ก็กำลังสืบสวนความเป็นไปได้ที่จะมีการละเมิดบทกฎหมายของรัฐมินนิโซตาเช่นกัน[22] ณ วันที่ 29 พฤษภาคม ชอวินถูกจับกุมและถูกตั้งข้อหาทำให้คนตายโดยไม่เจตนาฆ่า แต่เจตนาก่อให้เกิดอันตราย (third-degree murder) และข้อหาทำให้คนตายโดยประมาท (second-degree manslaughter) ไมเคิล โอ. ฟรีแมน อัยการเทศมณฑลเฮนเนพิน กล่าวว่า เขาคาดว่าจะมีการตั้งข้อกล่าวหากับเจ้าหน้าที่อีกสามนายที่อยู่ในเหตุการณ์[23][24]หลังการเสียชีวิตของฟลอยด์ การเดินขบวนและการประท้วงในเขตมหานครมินนีแอโพลิส–เซนต์พอลเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม เป็นไปด้วยความสงบในช่วงแรก แต่ต่อมาในวันเดียวกันก็ลุกลามเป็นการจลาจล โดยกระจกหน้าต่างสถานีตำรวจแห่งหนึ่งถูกทุบแตก ร้านค้าสองร้านถูกวางเพลิง และร้านค้าอีกหลายร้านถูกฉกชิงทรัพย์สินและถูกทำลาย[25] ผู้ประท้วงบางคนปะทะกับตำรวจซึ่งยิงแก๊สน้ำตาและกระสุนยาง[26][27] การประท้วงเพิ่มเติมเกิดขึ้นในมากกว่า 100 เมืองทั่วทั้ง 50 รัฐในสหรัฐเช่นเดียวกับในประเทศอื่น ๆ การเสียชีวิตของฟลอยด์ถูกนำไปเปรียบเทียบกับการเสียชีวิตของเอริก การ์เนอร์ ใน พ.ศ. 2557 การ์เนอร์ซึ่งเป็นชายผิวดำที่ไม่มีอาวุธเช่นกันได้กล่าวว่า "ผมหายใจไม่ออก" สิบเอ็ดครั้งหลังจากถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจนิวยอร์กนายหนึ่งล็อกคอไว้กับพื้นระหว่างการจับกุมในเกาะสแตเทน[28][29]

การเสียชีวิตของจอร์จ ฟลอยด์

เวลา ป. 20:08–20:28 น. (เขตเวลากลาง)[1][2]
พิกัด 44°56′03″N 93°15′45″W / 44.9343°N 93.2624°W / 44.9343; -93.2624พิกัดภูมิศาสตร์: 44°56′03″N 93°15′45″W / 44.9343°N 93.2624°W / 44.9343; -93.2624
ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
  • เดริก ชอวิน
  • ทู ทาว
  • ทอมัส เค. เลน
  • เจ. อเล็กซานเดอร์ คูเอง
สถานที่ มินนีแอโพลิส รัฐมินนิโซตา สหรัฐ
วันที่ 25 พฤษภาคม 2563 (2563-05-25)
เสียชีวิต 1 คน (จอร์จ ฟลอยด์)

แหล่งที่มา

WikiPedia: การเสียชีวิตของจอร์จ ฟลอยด์ //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... //www.worldcat.org/issn/0362-4331 https://abc7.com/6216662/ https://www.boston.com/news/national-news-2/2020/0... https://minnesota.cbslocal.com/2020/05/26/being-bl... https://minnesota.cbslocal.com/2020/05/26/george-f... https://minnesota.cbslocal.com/2020/05/29/derek-ch... https://www.cbsnews.com/news/minneapolis-george-fl... https://www.cbsnews.com/news/minneapolis-police-fa... https://www.cnn.com/2020/05/27/us/minneapolis-prot...